• img img
  • img img
  • img img
  • img img
  • img img
  • img img
  • img img
  • img img
  • img img
  • img img
  • img img
  • img img
  • img img

รายละเอียดสินค้า

คุณสมบัติที่ดีสำหรับรองเท้าเดินป่าในประเทศร้อนชื้นอย่างประเทศไทย คือ ใส่สบาย การระบายอากาศที่ดี น้ำหนักเบา ถ้าเปียกแล้วแห้งเร็ว และพื้นรองเท้าที่อ่อนโค้งตัว ดอกรองเท้าสูง ทำให้เกาะไปกับพื้นที่ลื่นได้เป็นอย่างดี

ตัวรองเท้าผลิตจากวัสดุ Flyknit ซึ่งเป็นวัสดุที่นิยมใช้ในรองเท้าวิ่ง เนื่องจากมีน้ำหนักที่เบา ถ่ายเทอากาศได้ดี

ใช้ MidSole เป็น EVA ช่วยดูดซับแรงกระแทก

พื้นเป็นพื้นยาง ( Rubber) ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นเหนือกว่าพื้นรองเท้าแบบอื่น คือ กันลื่นล้มได้ดี ผิวอ่อนตัวได้ กันน้ำ และทนการสึกหรอได้ดี จึงเป็นพื้นที่เหมาะอย่างยิ่งกับการใช้ในการเดินป่า

น้ำหนัก (ต่อข้าง)  330-390 กรัม (ขึ้นกับเบอร์รองเท้า)

เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเดินป่า

 

ส่วนประกอบ วัสดุ คุณสมบัติ
Upper (รองเท้าส่วนบนที่เหนือจากพื้นขึ้นไป) Flyknit น้ำหนักเบา ความยืดหยุ่นดี และ ระบายอากาศได้ดี
Lining (ด้านในรองเท้า) Mesh โอบอุ้มเท้าให้ใส่ได้สบายและ ระบายเหงื่อความชื้นจากเท้า
insole (แผ่นรองด้านในรองเท้า) TPU รองรับฝ่าเท้า
Midsole (แผ่นรองตรงกลางระหว่าง Insole กับ Outsole) EVA ลดแรงกระแทก
Outsole (พื้นรองเท้า) Rubber เพิ่มการยึดเกาะผิว กันลื่นได้ดี

 

การวัดขนาดรองเท้า (ดูรุปประกอบ)

– วัดขนาดความยาวเท้า (Foot length) โดย วางส้นเท้าชิ้นกับผนัง ให้เท้าราบไปกับพื้น

– ลากเส้นตรงขนานกับผนังที่ปลายนิ้วเท้า

– วัดความยาวจากผนังถึงเส้นที่ลากไว้ ความยาวที่ได้จะเป็นระยะความยาวเท้า (Foot Length)

– ดูตารางเทียบระยะเท้า กับเบอร์ EUR

– เผื่อระยะเพิ่มเติมตามลักษณะเท้าของแต่ละคน เช่น ถ้าเป็นคนเท้ากว้างหน่อย ควรจะให้ใหญ่เพิ่มขึ้นมาอีกเบอร์

**หากสั่งให้ส่งไปแล้ว ใส่ไม่ได้ สามารถส่งมาเปลี่ยนเบอร์ได้ โดยสภาพรองเท้าที่ส่งมาเปลี่ยนต้องเหมือนเดิมกับตอนได้รับ ถ้ามีการเลอะ จะไม่รับเปลี่ยน**

 

การเลือกรองเท้ากรณีมาลองที่ร้าน

– ถ้ามีโอกาสไปลองที่ร้านก็ให้เตรียมถุงเท้าเดินป่าคู่โปรดของคุณไปลองด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อใส่กับรองเท้าแล้วจะพอดี (ถ้าใครเดินแล้วใส่ถุงกันทาก ก็ติดไปลองด้วยได้ครับ)

– เวลาลอง ดันให้เท้าส่วนนิ้วโป้งไปชนกับด้านหน้าของรองเท้า ใช้นิ้วชี้ (มือ) แทรกเข้าไประหว่างส้นเท้ากับด้านหลังของรองเท้า ถ้าแทรกนิ้วเข้าไปไม่ได้ แสดงว่า รองเท้าสั้นไป เวลาเดินเล็บเท้าจะกระแทกกับส่วนหน้ารองเท้าเวลาลงเนิน ทำให้เกิดการพอง หรือ ห้อเลือดได้

– หลังจากผูกเชือกรองเท้า พยายามขยับส้นเท้าขึ้น ลง หน้า หลัง และจากซ้ายไปขวา รองเท้าที่หุ้มส้นเท้าได้ดีนั้น เมื่อรวมกับการผูกเชือกรองเท้าที่ดี ก็ จะช่วยล็อคตำแหน่งส้นเท้าให้อยู่กับที่ไม่เคลื่อนไปมา

– ช่องส่วนหน้าของรองเท้าควรจะมีพื้นที่มากพอที่จะขยับนิ้วเท้าไปมาได้ แต่อย่าให้มีที่มากเกินไป จนทำให้เท้าเลื่อนไปมาได้

– ลองเดินดู เพื่อให้แน่ใจว่ารองเท้าใช้ได้ดีกับการเคลื่อนที่หลายๆแบบในการเดินป่า เช่น สไลด์ข้างไปมา ก้าวยาวๆ เป็นต้น

 

ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ก่อนเลือกซื้อรองเท้าจากผู้เชี่ยวชาญ 

– การเดินป่าในประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ร้อนชื้น การใช้รองเท้าพื้นแข็ง และดอกรองเท้าเตี้ย จะลื่นง่ายกว่า รองเท้าที่พื้นอ่อนตัวและดอกรองเท้าลึก

– การระบายอากาศของรองเท้าเป็นสิ่งสำคัญมากในรองเท้าเดินป่า หงื่อระบายออกได้ดี  จะช่วยให้เท้าไม่อับ เท้าจะเย็น ถุงเท้าและรองเท้าจะไม่ชื้น และแห้งไวกว่า ช่วยลดการเกิดเท้าพอง แผลเสียดสีที่เท้า

– รองเท้าที่กันน้ำได้ (waterproof) จะมีการระบายอากาศที่แย่กว่ารองเท้าที่ไม่กันน้ำ ส่งผลให้เท้าอับชื้นมากกว่า เวลาน้ำเข้าแล้วออกยากกว่า นอกจากนั้นสารเคลือบกันน้ำจะเสื่อมสภาพไปตามการใช้งาน  ต้องมีการพ่นสารเคลือบกันน้ำเป้นระยะๆ เพื่อรักษาสภาพการกันน้ำไว้

– รองเท้ากันน้ำ จะไม่มีประโยชน์เลย ถ้าต้องเดินลุยน้ำที่สูงกว่ารองเท้า หรือ  น้ำไหลเข้าจากด้านบนรองเท้า

– น้ำหนักรองเท้ามีความสำคัญมากในการเดินป่า ว่ากันว่า น้ำหนักรองเท้าที่เบาลง 200 กรัม จะลดแรงที่ต้องใช้เทียบเท่ากับการเอาของหนัก 1.2 กิโลกรัม ออกจากกระเป๋าเป้แบ็คแพ็ค

– รองเท้าที่เป็นพื้นยางจะมีความแข็งแรงทนทาน กันลื่นได้ดี และใช้งานบนพื้นผิวที่ขรุขระได้ดี เหมาะกับการใช้ในการเดินป่า แต่น้ำหนักพื้นรองเท้าจะมากกว่าพื้นแบบอื่น

– ผู้เชี่ยวชาญไม่แนะนำให้ใช้รองเท้าบูทสำหรับเดินป่าในการเดินในประเทศที่ไม่มีหิมะตก เนื่องจากน้ำหนักมาก ต้องใช้เวลาเดินปรับซักระยะถึงจะใส่สบาย  ระบายอากาศได้ไม่ดีนัก และราคาแพงกว่า ถึงแม้ว่าจะมีความทนทานมากกว่าก็ตาม

– รองเท้าที่เป็นผ้าถักจะมีจุดเด่นที่ระบายอากาศได้ดี แต่ความทนทานจะน้อยกว่าพวกที่เป็นหนัก หรือไนลอนแบบความทนทานสูง ถ้าต้องการให้รองเท้าทนทานมากขึ้นให้ใช้กาว Aquaseal ของ Gear Aid ทาเสริมในส่วนที่ต้องรับแรงมาก หรือส่วนที่มีแนวโน้มจะขาดง่าย

 

ขนาด EUR 40 41 42 43 44 45 46 47
ขนาด US 7.5 8 8.5 9.5 10 11 11.5 12
ความยาวเท้า (Foot Length) 25 25.5 26 26.5 27 27.5 28 28.5
น้ำหนัก ต่อข้าง (กรัม) 311 330 338 357 376 389 403 417
ข้อแนะนำ ขนาดหลักที่ใช้ คือ EUR เบอร์รองเท้า US สำหรับเทียบอ้างอิง
ถ้าเท้ากว้างกว่าปกติแนะนำให้เลือกเบอร์ใหญ่กว่า 1 เบอร์